วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 4 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

E-commerce


      ธุึรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเึครือข่ายที่เรียกว่า องค์กรเครือข่ายร่วม (Internet worked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

        - การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
     
        - การกระจาย การตลาด การขาย หรือการข่นส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
     
        - ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่่งใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ  และครอบคลุมรูปแบบทางการเงิน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
     
        - ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดังองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลผล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

        - การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลผล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , การข่นส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเ้นื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ฯลฯ

สรุปการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
 
      การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุึกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ิอินเตอร์เน็ต เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงนขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับสินค้า เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาลงได้ด้วย

การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application) 


     - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
     - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E- Advertisement)
     - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
     - การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
     - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
     - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
 
     - ระบบเครือข่าย (Network)
     - ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
     - การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
     - การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting) 
     
       - การพัฒนาระบบงาน (E-Commerce Application Development)
       - การวางแผนกลยุทธ์ (E-Commerce Strategy)
       - กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Law)
       -  การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name Registration)
       - การโปรโมทย์เว็บไซต์ (Website Promotion)

การจัดการ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


     Brick - and - Mortar organization
             องค์กรที่ทำธุรกิจ แบบ Off-line คือ การนำเสนอขายสินค้า ผ่านช่องทางการตลาด  ถึงมือผู้บริโภค สามารถจับต้องสินค้า ทดลองใช้ได้ แต่มีข้อจำกัดด้าน พื้นที่การขาย ที่สามรถทำได้ แค่ ในเมือง ๆ หนึ่ง ไม่สามารถครอบคลุม กลุ่มลูกค้าที่อยู่กระจัดกระจาย

    Virtual Organization
       องค์การที่นำเสนอขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่าย หรือขายแบบ On-line

    Click - and - Mortar Organization
     องค์การที่มีการผสมผสานการนำเสนอขาย ทั้งแบบ Off-line ที่นำเสนอขายทางช่องทางการตลาดทั่วไป และ แบบ On-line ที่นำเสนอขายแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประเภทของ E-Commerce 

    กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
       - Business - to - Business (B2B)
       - Business - to - Customer (B2C)
       - Business - to - Business - to - Customer (B2B2C)
       - Customer - to - Customer (C2C)
       - Customer - to - Business (C2B)
       - Mobile Commerce

   กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non - Profit Organization)
      - Intrabusiness (Organization) E-Commerce
      - Business - to - Employee (B2E)
      - Government - to - Citizen (G2C)
      - Collaborative Commerce (C-Commerce)
      - Exchange - to - Exchange (E2E)
      - E-Learning

E-Commerce Business Model  แบบจำลองทางธุรกิจ คือ 
    
       วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
        วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ขอแ่ตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ขั้นตอนการขาย >> หาข้อมูลของสินค้าตรวจสอบราคา ส่งรายการสั่งซื้อ (ผู้ซื้อ) ตรวจสอบสินค้าในคลังยืนยันการรับสินค้า ส่งเงินไปชำระ (ผู้ซื้อ)

ระบบงานเดิม .
    วารสาร / แคตาล๊อค / สิ่งพิมพ์โทรศัพท์ / โทรสารแบบฟอร์ม / ไปรษณีย์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     เว็บเพจออนไลน์แคตาล๊อคอีเมล์ / EDI / ฐานข้อมูลแบบออนไลน์อีเมล์ / EDI /EFT

ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี 
   - สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
   - สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
   - ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
   - ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
   - ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประาขาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
   - สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เนตได้ง่าย
   - ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
   - ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริง ๆ

 ข้อเสีย
    - ต้องมีระบบการรักษาควมปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    - ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าี่ที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    - ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    - ขาดกฏหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    - การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน


ที่มา : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น