วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 2 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

โครงสร้าง ธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์ E-Business Infrastructure

        หัวข้อหลัก (Main Topic)
Internet technology (เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต)
Web technology (เทคโนโลยีเว็บไซต์)
Internet - access software application (ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต)
How does it work? Internet Standards (วิธีการทำงานขั้นพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต)
Managing E-business Infrastructure   (กระบวนการจัดการโครงสร้างทางธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์)

       การกำหนดนิยาม Definition
- นิยามของ Technology infrastructure คื่อ โครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการแก่ผู้ใช้งาน คือ ความเร็ว และการตอบสนองการร้องขอ

- การให้บริการ E -business จะต้องกำหนดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองในตลาด

- Internet technology เทคโนโลยีที่ช่วยในการเชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูล โดยเป็นระบบขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client/Server

- Intranet Applications มักถูกใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมหลัก Supply-Chain Management
- Extranet Applications ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจเฉพาะเจาะจง

Web technology
       www: (World Wide Web) ขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบเอกสารพื้นฐาน คือ HTML โดยผ่านมาตรฐานในการรับส่งข้อมูล Protocal โปรโตคอล

ความรู้พื้นฐานในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
    โปรโตคอล เป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่าย ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง และยังทำหน้าที่กำหนดวิธีการส่งข้อมูลหรือไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์  Client และ Server และมีโปรแกรมประเภท Browser เป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารได้ง่ายขึ้น โดยโปรโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายนี้ เรียกว่า TCP/IP

Web Browsers โปรแกรมที่ใช้ดูเว็บไซต์ ใช้ในการดูและโต้ตอบข้อมูลสารสนเทศที่ เก็บไว้ในหน้าเว็บด้วยภาษา HTML โดยโปรแกรมที่นิยมในปัจจุบัน

       Internet Explorer
       Mozilla FireFox
       Google Chrome
       Safari

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมเว็บไซต์ ผ่านโปรโตคอล HTTP ทางเว็บราวเซอร์ โดยโปรแกรม Web Server ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
             Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
             Internet Information Sever จาก Microsoft Crop.
             Sun Java System Web Server จาก Sun Microsystem Crop.
             Zeus Web Server จาก Zeus Technology

Browser Compatibility
การตรวจสอบเว็บไซต์ที่สามารถรองรับการเช้าชมเว็บไซต์ผ่าน Browser ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ หลังจากที่พัฒนาแล้ว โดยสามารถตรวจสอบได้ใน www.browserhots.org หรือ www.viewlike.us

Evolution Web 1.0 , Web 2.0 , Web 3.0 และ Web 4.0


Web 1.0 Read Only,Static Data with simple markup
   เป็นเว็บที่ผู้เข้าชมอ่านได้อย่างเดียว (Read-only) หากจะทำการแก้ไขข้อมูลหน้าตาของเว็บไซต์ จะแก้ไขได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master) ซึ่งจะใช้ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นหลัก
ถือว่าเป็นเว็บยุคแรก ๆ ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเอาภาษา PHP และ  Java Script เข้ามาใช้

Web 2.0 Read-write
 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล๊อก เป็นต้น ซึ่งจะมีฐานข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งถือว่าเป็นยุของการแบ่งปันข้อมูล

Web 3.0 Read/Write/Relate, Data with Structured Metadata 
    เป็นการพัฒนาต่อจาก Web 2.0 โดยสามารถจัดการฐานข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) โดยจะมี
Tage ที่มีความสัมพันธ์กับอีก Tabe หนึ่ง เช่น พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา ใช้คำว่า ภูเขาไฟฟูจิ ในเว็บเสริ์จเอนจิ้น อย่าง Google จะมีข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
สายการบิน สภาพแวดล้อม ฤดูกาล เป็นต้น

สำหรับการพัฒนาได้มีการให้มีการเริ่มใช้ AI (Artificial Intelligence)
   ซึ่งสามารถค้นหา และคาดเดาความต้องกาของผู้บรโรค เช่น Google.co.th เป็นต้น

เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนาประกอบด้วย 
1 AI (Artificial Intelligence)
2 Semantic Web
3 Automated reasoning
4 Semantic Wiki
5 Ontology language  หรือ OWL

AI (Artificial Intelligence) ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สร้าความฉลาดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถคดาดเดาพฤติกรรมและวิเคราะห์ความต้องการ ในการค้นหาข้อมูลที่ตรง
ตามความต้องการมากที่สุด

Semantic Web คือ การรวมฐานข้อมูลแบบ อัตโนมัติโดยใช้การคาดเดาและหลักการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างบน Semantic Web จะถูกส่งไปยัง
อินเตอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง WebBrowser เช่น Internet Explorer , Mozilla FireFox

Automated reasoning เป็นการเขียนโปรแกรมให้ระบบคอมพิวเตอร์รู้จักการแก้ปัญหา มีการประมวลผลได้อย่างสมเหตุสมผลพร้อมทั้งแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเองได้อัตโนมัติ
โดยสามารถคาดเดาความต้องการของผู้ใช้งาน และผสมผสาน Application ต่าง ๆบนหน้าเว็บไซต์เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้งาน

Semantic Wiki มีลักษณะคล้ายดิชชันนารี โดยทำให้สามารถค้นหาความหมายหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ

Ontology language หรือ OWL ย่อมาจากคำว่า Web Ontology Language เป็นภาษาที่ใช้อธิบายถึงข้อมูลใน WebSite ในเชิง Ontology ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ โดยดูจาก
ความหมายของสิ่งนั้น ๆ โดย OWL เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดน W3C เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลใน Internet ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับ  Web1.0 , Web2.0 , Web3.0 , Web 4.0 

Web 1.0 The Web
  - Content portals
  - Data bases
  - File Servers
  - Websiters
  - File Sharing

Web 2.0 Social Web
  - Wiki
  - RSS
  - Blogs
  - Social Networks
  - Community Portals

Web 3.0 Semantic Web
  - Ontology
  - Intelligent Agents
  - Taxonomies
  - Semantic Web

Web 4.0 Vbiguitous Web
  - Sematic Agents
  - Linked data
  - Sementic Wikis

Blog ย่อมาจาก Weblog หรือ We Blog คือ การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้

คำนิยามศัพท์
เพิ่มข้อความให้กับ Blog ที่มีอยู่ เรียกว่า Blogging
บทความใน Blog เรียกว่า Posts หรือ Entries

จัดเด่นของ Blog
     1 เป็นเครื่องมือที่สือความเป็นกันเอง ระหว่างผู้ใช้ กับ ผู้เขียนบล๊อก
     2 มีความสะดวกและใช้งานง่าย ในการเผยแพร่ความคิดเห็น
     3 ผู้เข้าชมสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนและเกิดความรู้ใหม่ ๆ

ข้อแตกต่าง Blog กับเว็บไซต์ประเภทอื่น  ๆ
    - การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย
    - มี Template ที่จัดการในด้านของรูปแบบเอกสาร
    - มีการแยกเนื้อหา โดยแยกตามวัน ประเภทของผู้แต่ง
    - ผู้จัดการ Blog สามารถเชิญ หรือเพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและเข้าถึงเนื้อหาเจ้าของ Blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อเท่านั้น

Internet Forum ทำหน้าที่คล้าย Bulletin Board และ Newsgroup
  - มีการรวบรวมข้อมูลทั่วไป เช่น เทคโนโลยี,เกมคอมพิวเตอร์,การเมือง, ฯลฯ
   - ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
   - ผู้ใช้คนอื่น ๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้งโพสแสดงความคิดเห็นลงบนไปได้

Wiki อ่านออกเสียง Wicky, Weekee, Veekee
           สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร HTML Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม HowTos ที่รวบองค์ความรู้หลาย ๆ แห่ง
เข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ เครื่องมือที่ใช้ทำ Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม (Encyclopedia) สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70  ภาษา รวมทั้งภาษาไทย
       นอกจากนี้ยังแสดงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (ความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล) ในการสื่อต่อสาธารณะ โดยมีการควบคุมน้อยที่สุด และเป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้า
ของเทคโนโลยีให้มากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคม พึงตระหนักถึงหลักการเครพในสิทธิของปัจเจก (Individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Instant Messenging 
  เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่าย เป็นแบบ Relative Privacy เช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger, MSN Messenger และ AOL Instant Messanger

FolkSonomy ปัจเจกวิธาน  ซึ่งก่อนหน้าจะเกิดคำนี้ ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไป 3 แบบ
       ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
      เรื่องเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
      แยกตามกลุ่มประเภท (Category Classification)

วิธีค้นหาใน (Text Search)
      เช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่น ๆ ที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ

เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
    เนื้อหาข้อมูลจะจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดย แสดง ตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน เช่น CNN, BBC, google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง Blog ก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน
โดยสามารถดูเนื้อหาย้อนหลังได้จากปฏิทินกิจกรรมของเว็บ

แยกตามกลุ่มประเภท (Category  Classification)
การจัดระเบียบแบบนี้นั้นจะยึดเอาหัวข้อเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไปซึ่งจะช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ง่าย

ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต
       - เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวัน
       - การค้นหาตรงกับความต้องการเป็นไปได้ยาก เพราะเนื้อหามีจำนวนมาก
       - ข้อมูลที่พบขาดความน่าเชื่อถือ

กลุ่ม Tag ที่ก่อตัวมองคล้ายกับกลุ่มเมฆ (Tag Cloud)
       เมื่อมีการใช้ Tag ของระบบ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่าทุก ๆ คน ใช้ Tag ได้มากน้อยเพียงใด โดยถ้า Tag นั้นแสดงถึงคนที่เข้ามาใช้มาก ก็จะลักษณตัวใหญ่
ถ้ามีคนเข้ามาใช้น้อย ก็จะลักษณะตัวเล็ก

การให้คะแนนความนิยม (Rating and Population)
  การที่เว็บมีข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกว่าข้อมูลใดน่าสนใจ ระบบของปัจเจกวิธาน ช่วยแก้ปัญหาที่มีได้ โดยการแสดงจำนวนผู้ใช้ที่ได้ใส่ Tag ให้กับเว็บนั้น
ถ้ามีการใส่ Tag จำนวนมาก ก็จะแสดงถึงเว็บไซต์ได้รับความนิยมมาก

 เนื้อหาข้อมูลข้ามกัน (Cross-Navigation)
  เป็นการค้นหาที่เริ่มต้นที่ User แล้วไปที่แกน Tag และทำให้พบ Tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ตอนแรก สำหรับที่ใช้เป็นเครื่องมือได้แก่
    - User  เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ Tag ให้และเรียกดู Tag Cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย
  - Tag เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ Tag และเรียกดู Tag ที่เกี่ยวข้อง
- URL เว็บนี้ใครใส่ Tag แล้วใส่คำว่าอะไร

อนาคตของการใช้ Tag จะประยุกต์ไปใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกในการค้นหาความรู้ต่าง ๆ

Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุก ๆ Protocol & Procedure และระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต

TCP/IP ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูลและ Internet หรือ Protcol ของระบบ Internet โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งทำให้เห็น
ว่ามีการทำงานร่วมกัน ของ 2 โปรโตคอล คือ TCP และ IP โดยโปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญคือ โปรโตคอล IP เนื่องจากถ้าโปรโตคอลอื่น ๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ต
จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล Cencapsution ไปยังโปรโตคอล IP ที่มีกลไกลการระบุเส้นทาง (Route Service) บน Gateway หรือ Router ด้วยเหตุที่ โปรโตคอล IP จึงเป็นโปรโตคอลที่ระบุเส้นทางได้

HTTP ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Transfer Protocal ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้ในการส่งข้อมูลต่างๆ ในโลกของ  World Wide Web เช่น ไฟล์  HTML , ไฟล์ Image  เป็นต้น หรือคำสั่ง Query String
HTTP ยังเป็น Network Protocol ที่ใช้หลักการของ Client - Server โดย HTTP-Client จะสร้าง Connection ไปยัง HTTP-Server ผ่าน Socket ของ TCP/IP หลังจากนั้นจะมีการส่งคำสั่ง (Request)
ที่อยู่ในรูปของ Messags เพื่อทวงถามถึง Resource กลับไปยัง HTTP-Client เมื่อส่งเสร็จสิ้นแล้ว HTTP-Server จะปิดการเชื่อมต่อ เมื่อมีการเชื่อมต่ออีกในครั้งต่อไป เราจะเรียกว่า Stateless Protocol

URLs Uniform resourcs locators
     เป็นการระบุแหล่งส่งทรัพยากรสากล URI ที่ใช้ระบุที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ โดยมีกลไกลบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมาใช้ ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป
จึงมีการทำให้เกิดการสับกันระหว่าง URI กับ URL ซึ่ง URL นั้นจะใช้กับเว็บไซต์ และหมายถึง ที่อยู่บนเว็บไซต์

Domain Names ชื่อเว็บไซต์ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น ๆ ซึ่งเว็บไซต์แสดงถึงความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ต

ความยาวของ Domain ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
ถ้า Domain ของบริษัท พยายามจดในชื่อของบริษัท อย่าจดในชื่อของ พนักงาน IT
ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
ใช้อีเมลล์ที่อยู่กับเราตลอดไป เพราะการจดโดเมน มันจะเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเรา เรียกว่า Registant Email
บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ


ที่มา : สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น